อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ
ข้อมูลพื้นฐาน

อาชีพประชากร
     ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลกรใน มีอาชีพทำการเกษตร อาชีพรอง คือ ค้าขาย รับราชการ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง เป็นต้น
ภูมิประเทศ
     พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลไกรใน เป็นพื้นที่ราบและบางบริเวณเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีความลาดเอียงจากทางด้านทิศเหนือ ของตำบลสู่เส้นทางทิศใต้ ในฤดูฝนบางพื้นที่มีน้ำท่วมถึง ฤดูฝนจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกๆปี เป็น ตำบลที่มีเส้นทางคมนาคมค่อนข้างสะดวก
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
     วัด จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
    วัดประกาย (หมู่ที่ 2)
    วัดหนองบัว (หมู่ที่ 4)
    วัดป่ารัง (หมู่ที่ 5)
    วัดป่ามะม่วง (หมู่ที่ 6)
    วัดเสาหิน (หมู่ที่ 8)
    วัดตะพังละมุด (หมู่ที่ 11)
    วัดเกาะโสภาราม (หมู่ที่ 14)
การศึกษาในตำบล
     โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
    โรงเรียนบ้านหนองมะเกลือ
    โรงเรียนวัดเสาหิน
    โรงเรียนบ้านหนองบัว
    โรงเรียนบ้านวังขวัญ
    โรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร
    โรงเรียนบ้านหนองกระทุ่ม
    โรงเรียนบ้านป่ามะม่วง
โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
    โรงเรียนไกรในวิทยาคมรัชมังคลาภิเษก
ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองมะเกลือ
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ไกรใน
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเสาหิน
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดหนองบัว
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเกาะโสภาราม


     ตำบลไกรใน เป็นตำบลที่แยกมาจากตำบลไกรกลาง ตั้งอยู่ในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย การตั้งถิ่นฐานของประชาชน ส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเพเดิม มีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากที่อื่น บ้างก็มาจากทางอีสานแต่เป็นส่วนน้อย และการตั้งถิ่นฐาน ก็จะตั้งบ้านเรือน เกาะตัวกันริมเส้นทางคมนาคมสายหลักของชุมชน

ประวัติหน่วยงาน
     จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2539
วิสัยทัศน์
"พัฒนาทุกด้าน บริหารโปร่งใส หัวใจคือประชาชน"
พันธกิจ
1.ก่อสร้าง ปรับปรุง และซ่อมแซมเส้นทางคมนาคม
2.ขยายเขตไฟฟ้าและก่อสร้างปรับปรุงระบบประปา
3.ปรับปรุงคลองและทางระบายน้ำให้สามารถควบคุมการส่งและระบายน้ำ
4.สร้างระบบบริการและคุ้มครองสุขภาพ
5.ส่งเสริมการเกษตรและส่งเสริมการรวมตัวเพื่อดำเนินเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
6.พัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
7.จัดให้มีระบบป้องกันสาธารณภัย อุบัติภัยและอุบัติเหตุ อย่างทั่วถึงและทันท่วงที
8.ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ
9.ส่งเสริมการบริหารและจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
10.ส่งเสริมการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นตามหลักการบริหารจัดการที่ดี
จุดมุ่งหมาย
1.พัฒนาเส้นทางคมนาคมในตำบลให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
2.พัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้มีอย่างทั่วถึงและพอเพียง
3.พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
4.สร้างระบบบริการและคุ้มครองสุขภาพ
5.พัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างรายได้แก่ประชาชน
6.เสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็งและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
7.ดูแลให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
8.ป้องกัน บรรเทาสาธารณภัย
9.ส่งเสริมด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ
10.ส่งเสริมการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
11.มีการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลที่ดี